ประเทศไทยโดยทั่ว ๆ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
1. ฤดูร้อน หน้าร้อนประเทศไทย เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
2. ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
3. ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อนเริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทย มีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศรีษะในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็น กับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพายุฤดูร้อน
ลักษณะอากาศในฤดูร้อน หน้าร้อนประเทศไทย
- อากาศร้อน อุณหภูมิระหว่าง 35.0 ซ. – 39.9 ซ.
- อากาศร้อนจัด อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 ซ. ขึ้นไป
หน้าร้อนประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ร่องความดันต่ำนี้เป็นเรื่องปกติเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดออกจากประเทศไทย ผ่านพื้นที่ภาคใต้ในต้นเดือนพฤษภาคมเลื่อนไปทางทิศเหนือผ่านทางตอนใต้ของจีนจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนมันจะทำให้ฝนตกในประเทศไทยสักพักหรืออาจใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หรือหลายปี แทบจะไม่มีฝนตกเป็นเวลาหลายเดือนในเดือนกรกฎาคมมักจะขยายภาคใต้ของร่องแรงดันไฟฟ้าต่ำจีนมันจะกลับไปยังพื้นที่ไทยอีกครั้งมันทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องและปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปทางตะวันออกเฉียงเหนือในกลางเดือนตุลาคม เมื่อมันพัดเข้ามาในประเทศไทยสู่มรสุมส่วนบนของประเทศไทยเริ่มมีฝนตกอากาศเย็นและฝนตกแทนที่จะเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราบใดที่ภาคใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือไม่ฝนตกจนถึงเดือนธันวาคมและในหลายกรณีมันจะทำให้เกิดน้ำท่วมถึงปริมาณน้ำฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนตกหนักโดยเฉพาะภาคใต้ของพื้นที่ภาคใต้ในภาคตะวันออก อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นของฤดูฝนอาจช้ากว่าหรือเร็วกว่าที่วางแผนไว้เป็นเวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์
ฤดูร้อนของไทยมีช่วงไหน
ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการของประเทศไทยจะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมของทุกปีไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม กินระยะเวลาราว 2 เดือนครึ่ง โดยในช่วงนี้เป็นช่วงที่โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์และประเทศไทยทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์พอดี (เนื่องจากเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมาก) ช่วงหน้าร้อนนี้มักจะไม่มีลมจากฝั่งใดเข้ามาในประเทศไทยเลย ทำให้อากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว
จากฤดูทั้ง 3 ของไทยจะเห็นได้ว่าฤดูร้อนนั้นสั้นที่สุดเพียง 2 เดือนครึ่ง แต่ทำไมทุกคนถึงบอกว่าประเทศไทยมี 3 ฤดูคือ ฝน ร้อน และร้อนมาก สาเหตุก็เพราะช่วงหน้าหนาวของไทยนั้นมีหนาวจริงๆไม่กี่วัน นอกนั้นอากาศร้อนเข้ามาแทน ส่วนหน้าฝนก็เช่นกันวันไหนฝนไม่ตกก็มีอากาศร้อนเข้ามาแทน ซึ่งถ้านับวันกันจริงๆ ในหนึ่งปี จะมีวันที่ร้อนมากที่สุด ไม่น้อยกว่า 250 วันต่อปีเลยทีเดียว
ฤดูกาล เกิดจากอะไร
จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าฤดูกาลในประเทศไทยเรานั้นมี 3 ฤดูกาล แล้วแต่ละฤดูกาลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร การเกิดฤดูกาลหรือการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลนั้นเกิดขึ้นจากโลกของเราเป็นทรงกลมและมีการหมุนรอบตัวเอง อีกทั้งยังหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วย และดวงอาทิตย์นี่เองที่เป็นหัวใจหลักของการเกิดฤดูกาลต่าง ๆ ยกตัวอย่าง คือ ถ้าหากช่วงไหนที่โลกหันด้านไหนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ทางฝั่งที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ก็จะเป็นฤดูร้อน ฝั่งที่อยู่ไกลก็จะเป็นฤดูหนาว เป็นต้น
การที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ซึ่งถ้าหากอ้างอิงตามการหมุนของโลกจะมี 4 ฤดูกาล โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ฤดูร้อน ช่วงที่ซีกโลกฝั่งนั้นหันเข้าหาดวงอาทิตย์ (ช่วงเวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน)
- ฤดูใบไม้ร่วง ช่วงที่ซีกโลกแต่ละฝั่งหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่าๆกัน (ช่วงเวลากลางวันเท่ากลางคืน)
- ฤดูหนาว ช่วงที่ซีกโลกฝั่งนั้นหันออกจากดวงอาทิตย์ (ช่วงเวลากลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน)
- ฤดูใบไม้ผลิ ช่วงที่ซีกโลกแต่ละฝั่งหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่าๆกัน (ช่วงเวลากลางวันเท่ากลางคืน)
จะเห็นว่าถ้าหากลักษณะทางภูมิศาสตร์ไม่แตกต่างกัน ฤดูกาลสากลจะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู แต่ทำไมประเทศไทยเราถึงมีแค่ 3 ฤดูและเป็นฤดูที่แตกต่างจากฤดูกาลสากล สาเหตุเนื่องมาจาก จากสภาพแวดล้อม ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่สูง ที่ราบ ทำให้ฤดูกาลของประเทศไทยนั้นถูกกำหนดโดยลมมรสุม (Monsoon) และมีแค่ 3 ฤดูโดย
- ฤดูร้อน จะเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเปลี่ยนไปเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นช่วงที่โลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ฤดูร้อนนี้ถึงแม้ว่าอากาศจะร้อน แต่ในบางครั้งจะมีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาจากประเทศจีนบริเวณภาคเหนือและอีสาน ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างลมเย็นและลมร้อน เกิดเป็นพายุขึ้นที่เราเรียกกันว่า พายุฤดูร้อนมั่นเอง
- ฤดูฝน เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยผัดผ่านประเทศไทย โดยจะเริ่มพัดจากภาคใต้ไปภาคเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดช่วงฤดูฝน
- ฤดูหนาว เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านประเทศไทย โดยเริ่มจากภาคเหนือลงไปทางใต้ ทำให้ภาคเหนือเริ่มมีอากาศหนาวก่อนแล้วค่อยๆไล่ลงไปทางภาคใต้